สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

องค์การเภสัชกรรม

ผลงานต่างๆของบริษัท

องค์การเภสัชกรรม


งานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance - PM


    งาน PM (Preventive Maintenance) งานซ่อมบำรุงไม่ฉุกเฉินหรือที่เตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้ามีอยู่หลายลักษณะ เช่น งานวางแผนการซ่อมบำรุงล่วงหน้า (Preventive Maintenance) งานซ่อมบำรุงเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) งานซ่อมบำรุงตามสภาพ (Condition base Maintenance) งานซ่อมบำรุงตามแผนงาน Shutdown (Shutdown Maintenance) และอีกหลายๆงาน แต่โดยรวมสรุปว่าเป็นงานซ่อมบำรุงที่ได้ทำการวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว

งานซ่อมบำรุงในลักษณะนี้ มีจุดประสงค์เพื่อที่จะหยุดยั้งการชำรุดหรือเสียหายของเครื่องจักรฉุกเฉิน คือ ต้องการลดหรือป้องกันไม่ให้เกิดงานเสียฉุกเฉิน(BM) ขึ้นดังนั้นทุกๆหน่วยงาน ทุกๆกิจกรรมการบำรุงรักษา จึงมุ่งเน้นที่จะให้หน่วยงานของตนมีหน่วยงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือเรียกว่าหน่วยงาน PM 

  ลักษณะหรือองค์ประกอบของงาน PM
งาน PM คือ งานที่ได้จัดทำหัวข้องาน/เนื้องาน (Task) เตรียมไว้ล่วงหน้าที่จะนำมาปฏิบัติเมื่อถึงเวลา/หรือถึงค่าที่กำหนด ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ การที่ท่านนำรถยนต์ของท่านเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการ ทุกการใช้งานครบ 10,000 กิโลเมตร ที่ศูนย์บริการก็จะมี Task ของงานว่าต้องทำอะไรกับรถของท่านบ้าง เช่น เปลี่ยนกรองน้ำมัน,ถ่ายน้ำมันเครื่อง,ตรวจสอบสายพานเครื่องยนต์ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนกรองน้ำมัน,ถ่ายน้ำมันเครื่อง,ตรวจสอบสายพานเครื่องยนต์ ก็คือ Task ของงาน

ดังนั้นงาน PM คืองานที่ได้เตรียม Task ของงานไว้ล่วงหน้า สำหรับซ่อมบำรุง/ดูแลรักษาเมื่อถึงเวลาหรือถึงกำหนด โดยอาจจะแบ่งเป็น PM ประจำอาทิตย์/เดือน/ปี แต่ละงาน PM ก็จะประกอบไปด้วย Task ของงานที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ทำ PM เช่น Task ของงานPM ประจำอาทิตย์ ก็จะเป็นไปในลักษณะตรวจสอบ/เติม/ปรับแต่ง Task ของงาน PM ประจำปี ก็จะเป็นงานประเภทการเปลี่ยน 

    


Preventive Maintenance - PM HOT AIR OVEN




จัดทำ บอร์ดทดแทน ของเครื่องตรวจผง

จัดทำ เมนบอร์ดทดแทนของเดิม

 

 

 

ผลิตบอร์ดเครื่องจักร ทดแทนบอร์ดเก่าที่เสื่อมสภาพ

   



งานซ่อมและระบบบำรุงรักษาแอร์ชิลเลอร์ 

งานซ่อมและระบบบำรุงรักษาแอร์ชิลเลอร์

  

  

  

  

การดุแลและบำรุงรักษาระบบชิลเลอร์ แต่ละครั้งมีดังนี้

  • ตรวจสอบความดันและอุณหภูมิ และปรับการไหลของน้ำเย็นที่ทางเข้าและทางออกของเครื่อง
  • ตรวจเช็คน้ำมันหล่อลื่นลูกปืนพัดลมคอยล์ร้อน หรือหยอดน้ำมันตามความจำเป็น
  • ตรวจทำความสะอาดคอยล์ร้อนด้วยปั๊มน้ำมันแรงดันสูง หรือทำตามความจำเป็น
  • ตรวจเช็คระดับน้ำมันคอมเพรสเชอร์
  • ตรวจเช็คการทำงานของลวดความร้อน
  • ตรวจสอบการทำงานของตัวควบคุมอุณหภูมิทุกตัว
  • ตรวจสอบลำดับการทำงานของคอมเพรสเชอร์
  • ตรวจสอบความถูกต้องของการทำงานของระบบความปลอดภัยของเครื่อง
  • ตรวจสอบการทำงาของตัวควบคุมการฉีดน้ำยาทำความเย็น
  • ตรวจสอบความดันของน้ำยาด้านต่ำและด้านสูงของเครื่อง
  • ตรวจสอบสภาพแผงไฟฟ้าในจุดต่าง ๆ และขันน็อตให้แน่น
  • ตรวจเช็คคอนแทคเตอร์ตัดต่อวงจร
  • ตรวจสอบสภาพการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในแผงสวิทช์





view