สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

PLC

PLC

PLC (Programmable Logic Controller)  

เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ที่สามารถโปรแกรมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ โดยมีหน่วยความจำในการเก็บโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ

การใช้ PLC มีข้อดีดังนี้

  1. ประหยัดค่าใช้จ่าย ถ้าใช้ Relay, Timer, Contractor มากกว่า 10 ตัวขึ้นไป
  2. ลดเวลาในการออกแบบวงจรและสะดวกในการแก้ไขวงจร
  3. มีขนาดเล็กและเป็นมาตรฐานเมื่อเทียบกับวงจรรีเลย์
  4. ไม่พบปัญหาหน้่สัมผัส สายหลุด เหมือนวงจรรีเลย์
  5. บำรุงรักษาง่าย 

โครงสร้างของ PLC

โครงสร้างของ PLC มีองค์ประกอบดังนี้

  1. วงจรอินพุต ( Input )
  2. วงจรเอาต์พุต ( Output )
  3. หน่วยความจำ ( Memory )
  4. หน่วยประมวลผล ( CPU )

วงจร INPUT  

 Input ของ PLC ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกกับ CPU เพื่อรับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกมา

ใช้เป็นเงื่อนไขในการควบคุม เช่นLimit switch, Proximity- switch, สวิตซ์ปุ่มกดต่างๆ  เป็นต้น


วงจร OUTPUT 

Output ของ PLC เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกทางด้านขั้วขาออก เพื่อส่งสัญญาณให้กับอุปกรณ์ภายนอก

ตัวอย่างอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หลอดไฟรีเลย์, magnetic

  




การดูแลรักษาวงจร PLC เบื้องต้น

ปัญหาที่เกิดใน อุปกรณ์ PLC บ้างครั้งที่เกิดขึ้น โดยที่โปรแกรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน คือ อุปกรณ์ ของ PLC ในความ

เห็นส่วนตัวของผู้เขียน เอง มักมอง ว่าอุปกรณ์ PLC ที่เราใช้กันอยู่ เมื่อมีปัญหา แล้วมีการซ่อม แบบ Break Down Maintenance

เสียแล้วค่อย ซ่อม ฉะนั้นการ การบำรุงรักษา อุปกรณ์ PLC เบื้องต้น จึงเป็นการเพิ่ม อายุการใช้งานของอุปกรณ์ PLC

การทำความสะอาด

อุปกรณ์ PLC เมื่อใช้นาน ๆ มักมีฝุ่นเกาะ หาก ไม่มีการทำความสะอาด ทำให้แผงวงจร และขั้วไฟฟ้าต่าง ๆ ทำงานได้ไม่ดี เต็มประสิทธิภาพ

การทำความสะอาด ควรหาเวลาที่ไม่ได้ทำการผลิต ควรจัดทำแผนในการ Maintenance ให้สอดคล้องกับการผลิตอุปกรณ์ที่ ใช้ ทำความสะอาด ควรใช้ลมแรงดันกลางในการเป่าทำความสะอาดเพื่อไล่ฝุ่น

ส่วนแผงวงจรอาจใช้ Contact Cleaner ใช้เพื่อทำความสะอาด

ตรวจเช็คแบตเตอรี่ใน PLC

แบตเตอรี่จะมีการติดตั้งในหน่วยประผลกลางของ PLC ทำหน้าที่จ่ายกระแสเพื่อรักษา ข้อมูล และ โปรแกรมที่ใช้ในการทำงาน

โดยส่วนมาก อายุการใช้งานของ แบตเตอรี่ มีอายุการใช้งาน 5 – 10 ปี หากเป็น PLC ที่มีอายุการใช้งาน มายาวนาน แบตเตอรี่ย่อมเสื่อมส่งผล

หากฝืนใช้งานต่อไปย่อมก่อให้เกิดความเสียหายกับขั้วของวงจรที่ต่อกับแบตเตอรี่หรือหากในกรณี ที่ไฟของ แบตเตอรี่ อ่อน ย่อมส่งผลให้การนำมาข้อมูลมาใช้

หรือ โปรแกรม ทำได้ไม่เต็มที่ในแบตเตอรี่ ของ PLC บ้างรุ่น จะมี คาร์ปาซิเตอร์ เมื่อมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ข้อมูลยังคงอยู่แต่ในบางรุ่นซึ่งไม่มี

ก่อนทำการเปลี่ยนต้องทำการ สำรองข้อมูลเสียก่อน และควรทำความสะอาด

ขั้วแบตเตอรี่ ในการเปลี่ยนแต่ละครั้ง

การตรวจเช็คพอร์ตสื่อสาร

ในการบำรุงรักษา อาจต้องมีการถอด PLC ออกมาในแต่ล่ะชิ้น พอร์ตอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูล ระหว่าง ผู้ใช้ กับ PLC ก็เป็นอุปกรณ์

หนึ่งที่มีความสำคัญหากตัวเชื่อมต่อ ไม่ดีแล้ว การรับส่งข้อมูล ทำให้เกิดปัญหาได้ การตรวจสอบ พอร์ตหลังจากที่ทำการบำรุงรักษาแล้ว

จะทำการเช็คดังนี้

(RUN) หรือไม่

2) ตรวจสอบที่ไฟสถานะของพอร์ตสื่อสาร สีเขียว คือ ทำงานถูกต้อง สีแดงเมื่อไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ โดย ปกติไฟในจุดนี้ควร กระพริบอยู่ตลอด หากข้อมูลส่งผ่านอย่างต่อเนื่อง

3) ที่พบว่าไฟสถานะปกติ ควรตรวจสอบขั้วสัญญาณ ว่ามีอาการหลวม หรือ หลุดหรือไม่ หากมีคาบฝุ่นให้ทำความสะอาด โดยการเป่าลม ไล่ฝุ่นออก

4) หากตรวจสอบตามข้อ ที่ 3 แล้ว ยังเกิดปัญหาการสื่อสารควร ตรวจ สอบสายสัญญาณว่ามีการขาดชำรุดหรือไม่ การขาดชำรุดอาจเกิดขึ้นภายในต้องตรวจสอบโดยใช้มิเตอร์ร่วมด้วย

เพียงหลัก ปฏิบัติ ง่าย ๆ ดังที่ได้นำเสนอมา สามารถ ลดความเสียหายของ PLC ได้ง่าย






view