สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Solid State Relay

Solid State Relay




 หลายๆ ท่านคงเคยได้ยิน เคยเห็น หรือเคยใช้ โซลิดสเตตรีเลย์กันมาบาง แต่คงจะมีน้อยคนที่จะทราบว่า โซลิดสเตตรีเลย์ มีหลายชนิด ดังนี้

ZS   :  Zero switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท

IO   : Instant-On switching โหลดที่ต้องการความเร็วในการ ON-OFF

PS   : Peak switching ใช้ได้ดีกับโหลดที่เป็นหม้อแปลง

AS   : Analog switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท

DCS  : DC switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท

    

     โซลิดสเตตรีเลย์  ที่เห็นกันในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Zero switching สำหรับโหลด AC และ DC  Switching (สำหรับโหลด DC) เพราะว่าใช้ได้กับโหลดทุกประเภทไม่ต้องสอบถามรายละเอียดมากมาย และอาจจะมี Analog switching อยู่บ้าน เพื่อนำไปควบคุมอุณหภูมิ ระบบ PID ซึ่งโซลิดสเตตรีเลย์ประเภทนี้ มีผู้ผลิตน้อยมาก 

     โซลิดสเตตรีเลย์ดีกว่าหรือรีเลย์ธรรมดาหรือไม่?

      คำถามนี้ตอบยากเพราะว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่ดีเลิศ 100% และไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะแย่ 100% จึงขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองข้อเปรียบเทียบจุดไหน แต่สามารถบอกได้แค่เพียงว่า

โซลิคสเตตรีเลย์มีข้อดีมากกว่า รีเลย์ธรรมดา ดีอย่างไร และมีข้อดีอะไรบ้าง ขออธิบายต่อดังนี้

 ข้อดีของโซลิดสเตตรีเลย์

  • อายุการใช้งานมากกว่า 1 พันล้านครั้ง ข้อนี้หลายท่านคงจะนึกคิดค้านอยู่ในใจว่า ไม่จริงเคยใช้อยู่ ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ เสียง่าย ข้อนี้จะขออธิบายเพิ่มเติม เจาะรายละเอียดภายหลัง
  • ไม่มีการสปาร์ก หรือ อาร์ก เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(EMI) น้อย
  • ไม่มีการสั่นสะเทือน หรือการกระทบกระแทก
  • ไม่กลัวฝุ่น
  • ไม่มีเสียงรบกวน  ทำงานเงียบสนิท
  • ใช้งานกับ PLC หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง
  • ทำงาน (การตัดต่อ) ได้เร็ว

ข้อเสียของโซลิดสเตตรีเลย์

  • ต้องใช้แผ่นระบบความร้อน
  • ทน Transient Voltage ได้ต่ำ
  • เกิดแรงดันตกคร่อม
  • มีกระแสรั่วไหล เมื่ออยู่ในสภาวะ OFF

      ข้อดี และ ข้อด้อย โซลิดสเตตรีเลย์ ในแต่ละข้อที่หยิบยกมา คงจะไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม เพราะว่าชัดเจนอยุ่แล้ว

โซลิดสเตตรีเลย์ใช้งานได้ทนจริงหรือ?

      คำถามนี้ขอตอบว่าจริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่ว่า ซื้อโซลิดสเตตรีเลย์มาแล้ว ต่อไฟอินพุต , เอาต์พุตใช้งานเลย ถ้าทำอย่างนี้เสียง่ายแน่นอนในบางงาน

อาจจะเสียโดยใช้งานได้ไม่ถึงชั่วโมงถ้าต้องการใช้โซลิดสเตตรีเลย์ให้ทนทานจนลืม ต้องมีอุปกรณ์ช่วยโซลิดสเตตรีเลย์ ดังนี้

      Heatsink แผ่นระบบความร้อน  เนื่องจากโซลิดสเตตรีเลย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดแพ้ความร้อน ถ้าการระบบความร้อนไม่ดีพอจะเกิด

ความร้อนสะสมที่่ตัวโซลิดสเตตรีเลย์ ทำให้ Over Heat และเสียได้ ในบางงานถ้าใช้กระแสไฟฟ้าสูงๆ เพียงแต่ติด Heatsink ก็ยังไม่พอ ต้องติดพัดลมระบบอากาศช่วยอีกด้วย และ

การติดตั้ง Heatsink กับตัวโซลิดสเตตรีเลย์ ก็ต้องมี Heatsink Compound ช่วยด้วย เพื่อไม่ให้มีช่องอากาศอยุ่ระหว่าง Heatsink กับตัวโซลิคสเตตรีเลย์

     Semiconductor Fuse ฟิวส์นี้จะช่วยป้องกัน Over Load ถ้าโหลดเกิดซ็อตขึ้นมา

     Metal Oxide Varistor (MOV) ป้องกัน Transient Voltage ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะจึงต้องป้องกันไว้ก่อน ปัญหานี้พบบ่อยมากที่อยู่ดีๆโซลิดสเตตรีเลย์เกิดเสียขึ้นมา โดยที่

สภาพภายนอกก็ยังเหมือนเดิมทำให้หลายๆ ท่านเข้าใจว่าปัญหาอยุ่ที่โซลิดสเตตรีเลย์ใช้งานได้ไม่ทน แต่ถ้าเอา MOV มาต่อคร่อม Line out ก็จะช่วยลดปัญหานี้ไปได้

     นอกจากที่จะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหล่านี้แล้ว ในการเลือกใช้โซลิดสเตตรีเลย์ก็สำคัญเช่นกัน ต้องดูคุณสมบัติให้ละเอียดว่าใช้กับโหลดประเภท Resistive ได้เท่าไร และโหลด

ประเภท Inductive ได้เท่าไรให้ชัดเจนเพราะว่าโดยทั่วไปแล้วโซลิดสเตตรีเลย์จะทนกระแสโหลดประเภท Resistive ได้สูงกว่า โหลดประเภท Inductive ฉะนั้นในการทำ Catalogue 

ของผู้แทนจำหน่ายจึงลงค่ากระแสโหลดประเภท Resistive ไว้ แต่ถ้าท่านจะซื้อโซลิดสเตตรีเลย์ไปใช้งานกับโหลดประเภท Inductive เช่น มอเตอร์ ก็ต้องดูข้อมูลใน Catalogue 

ด้วยว่ามีบอกไว้ชัดเจนหรือไม่ ถ้าไม่บอกไว้ต้องสอบถามผู้แทนจำหน่ายให้ทราบข้อมูลชัดเจนใน Catalogue อาจจะบอกไว้ แต่ไม่อธิบายประเภทของโหลด แต่จะลงไว้ว่า AC-1 ,

AC-3 ซึ่งมันก็คือ การแบ่งประเภทของโหลดนั่นเอง AC-1 คือโหลดทั่วไปไม่ใช่มอเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์ ส่วนAC-3 คือโหลดประเภทมอเตอร์ เมื่อทราบกระแสโหลดที่แท้จริงแล้ว ก็ไม่

ควรที่จะใช้งานเต็มที่ตามนั้น ควรจะใช้กระแสโหลดเพียง 70% เท่านั้น เพราะประเทศไทยเราร้อน ถึงเราจะติดตั้ง Heatsink และพัดลมช่วยในการระบายความร้อนแล้วก็ตาม มันก็ยังไม่

เหมือนอากาศทางยุโรปเมืองหนาวอยู่ดี 


view